แนวทางการพัฒนาของศูนย์ภูมิภาคเป็นไปในรูปแบบ 2 แนวทาง ประกอบด้วย

  1. แนวทางการพัฒนาระดับท้องถิ่น
    1. ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือ เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing ในการศึกษาวิจัย
    2. ดำเนินการฝึกอบรมเทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing แก่ครูและนักเรียนระดับมัธยมในภาคเหนือเพื่อประโยชน์ในการสอนตามหลักสูตรใหม่ในระดับโรงเรียน
    3. ดำเนินการฝึกอบรมเทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing แก่บุคลากรท้องถิ่น ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำเยาวชน เจ้าหน้าที่ อบต. เทศบาล สมาชิกอบต. เทศบาล ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการวางแผน บริหารจัดการตลอดจนการเฝ้าระวังทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    4. ดำเนินการฝึกอบรมเทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing แก่บุคลากรของหน่วยงานของภาครัฐ ได้แก่ บุคคลากรของกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรมส่งเสริมการเกษตร , กรมป่าไม้,กรมโยธาธิการและผังเมือง,สำนักงานปฏิรูปที่ดิน,สำนักงานอนามัยและสิ่งแวดล้อมฯลฯในการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing เหล่านี้ในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
  2. แนวทางการพัฒนาระดับภูมิภาค
    1. จากที่ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(ภาคเหนือ)มีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(GMS)จึงแนะแนวทางในการสร้างเครือข่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานใน GMS เพื่อรองรับการสนับสนุนการใช้ข้อมูลดาวเทียม THEOS และรองรับการตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมในภาคเหนือของประเทศ
    2. การพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
    3. การฝึกอบรมบุคลากรของเครือข่าย กลุ่มอนุภาคแม่น้ำโขงภายใต้หลักสูตรปริญญาโทภูมิสารสนเทศ

สรุปภาระหน้าที่หลักในการดำเนินงานของศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ)

ศูนย์ภาคเหนือ มีภาระหน้าที่หลักในการให้บริการข้อมูล อบรมเชิงวิชาการ การใช้งาน ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และงานการวิจัยทางด้าน GIS และ Remote Sensing โดย สรุปดังต่อไปนี้

# กิจกรรม จำนวน (ครั้ง/เรื่อง)
1 การให้บริการข้อมูล 152
2 การฝึกอบรม 11
3 การวิจัย 20